เมนู

จักถึงการสงเคราะห์เข้าในพีชคามไซร้, แม้คำนั้นก็ไม่ควร เพราะพืชเช่นนั้น
ไม่เป็นมูลเหตุแห่งภูตคามเลย. อีกนัยหนึ่ง คำว่า บรรดาฐานะที่หนักและเบา
ภิกษุควรตั้งอยู่ในฐานะที่หนัก นี้เป็นลักษณะแห่งวินัย.

[ว่าด้วยภูตคามที่เกิดบนบกและการพรากภูตคามนั้น ]


วินิจฉัยในภูตคามที่เกิดบนบกต่อไป ส่วนที่เหลือของจำพวกต้นไม้
ที่ถูกตัดจัดว่าเป็นดอกไม้ที่เขียวสด. ในตอไม้เขียวสดนั้น ตอแห่งไม้กุ่ม ไม้-
กระถินพิมาน ไม้ประยงค์ และไม้ขนุนเป็นต้น ย่อมงอกขึ้นได้. ตอไม้นั้น
ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยภูตคาม. ตอแห่งต้นตาลและมะพร้าวเป็นต้น ย่อมไม่
งอกขึ้นได้. ตอแห่งต้นตาลเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม.
ส่วนตอกล้วยที่ยังไม่ตกเครือ ท่านสงเคราะห์ด้วยภูตคาม. ดอกกล้วย
ที่ตกเครือแล้ว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยพีชคาม. แต่ต้นกล้วยที่ตกเครือแล้ว
ท่านสงเคราะห์ เข้าด้วยภูตคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ยังมีโบเขียวอยู่. ไม้ไผ่
ที่ตกขุยแล้ว ก็อย่างนั้น. แต่ไม้ไผ่ ในเวลาแห้งลงมาตั้งแต่ยอด จึงถึงอัน
สงเคราะห์ด้วยพีชคาม. สงเคราะห์ด้วยพีชคามชนิดไหน. ด้วยพืชตามชนิด
เกิดจากข้อ อะไรเกิดจากต้นไผ่นั้น. จริงอยู่ ถ้าหากว่าอะไร ๆ ไม่พึงเกิด.
(ต้นไผ่ตกขุย) พึงถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม.
ชนทั้งหลายตัดไม้ช้างน้าวเป็นต้น รวมเป็นกองไว้. กิ่งทั้งหลายแม้
ประมาณศอกหนึ่งงอกออกจากท่อนไม้ที่รวมเป็นกองไว้ ย่อมถึงการสงเคราะห์
เข้าด้วยพีชคามเหมือนกัน. ชนทั้งหลายปักลงในพื้นดิน เพื่อประโยชน์เป็น
มณฑปก็ดี เพื่อประโยชน์เป็นรั้วก็ดี เพื่อประสงค์จะปลูกเถาวัลย์ก็ดี. เมื่อ
จำพวกรากและใบงอกออกแล้ว ย่อมถึงอันนับเข้าเป็นภูตคามอีกแม้โดยแท้
ถึงอย่างนั้นเมื่องอกเพียงทุ่มรากหรือเพียงตุ่มใบก็สงเคราะห์เข้าเป็นพืชคาม
เท่านั้น.

เมล็ดจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ที่ชนทั้งหลายเอาน้ำรดชำไว้ในแผ่นดิน
หรือว่าชนทั้งหลายใส่ดินเปียกลงในกระถางเป็นต้นเพาะไว้. เมล็ดทั้งหมดนั้น
แม้เมื่องอกเพียงตุ่มราก หรือเพียงตุ่มใบ ก็จัดเป็นเพียงพืชเท่านั้น. ถ้าแม้นว่า
รากทั้งหลายและหน่อข้างบนงอกออก ก็ยังจัดเป็นพืชนั่นแล ตลอดเวลาที่หน่อ
ยังไม่เขียว. ก็เมื่อใบแห่งถั่วเขียวเป็นต้นงอกขึ้น หรือเมื่อหน่อแห่งข้าวเปลือก
เป็นต้นเขียวสด เกิดใบมีสีเขียวแล้ว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นภูตคาม
รากแห่งเมล็ดตาลทั้งหลายงอกออกทีแรก เหมือนเขี้ยวสุกร. แม้เมื่อ
งอกออกแล้ว ก็จัดเป็นพีชคามเหมือนกัน ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบ ใบข้างบน
ยังไม่คลี่ออก. หน่องอกทะลุเปลือกมะพร้าวออกเหมือนไม้สลัก ก็จัดเป็น
พีชคามอยู่นั่นเอง ตลอดเวลาที่ม้วนกลีบใบเรียวคล้ายกับเขามฤคยังไม่มี. แม้
เมื่อรากยังไม่ออก กลีบใบเช่นนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าในภูตคาม
ที่ไม่มีราก.
จำพวกเมล็ดมีเมล็ดมะม่วงเป็นต้น พระวินัยธรพึงตัดสินด้วยจำพวก
ข้าวเปลือกเป็นต้น. ก้านหรือรุกขชาติอย่างใดอย่างหนึ่งอื่นก็ดี เกิดที่ต้นไม้แล้ว
คลุมโอบต้นไม้. ต้นไม้นั่นแหละเป็นฐานของก้านเป็นต้นนั้น. ภิกษุพรากก้าน
เป็นต้นนั้นก็ดี ถอนขึ้นจากต้นไม้นั้นก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
เถาวัลย์ชนิดหนึ่งไม่มีราก ย่อมพันพุ่มไม้ป่าและท่อนไม้ดุจวงแหวน
(ฝอยทอง) แม้เถาวัลย์นั้นก็มีวินิจฉัยอย่างนี้เหมือนกัน. ที่หน้ามุขเรือนกำแพง
ชุกชี และเจดีย์เป็นต้น มีตระไคร้น้ำสีเขียว. คบอดเวลาที่ยังไม่เกิดใบ 2-3
ใบ ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นพืชเกิดจากยอด. เมื่อใบทั้งหลายเกิดแล้ว
เป็นวัตถุแห่งปาจิตตีย์. เพราะเหตุนั้น จะให้การฉาบปูนขาวในฐานะเช่นนั้น
ไม่ควร. จะให้การฉาบน้ำปูนขาวที่ละเอียดบนที่อันอนุปสัมบันฉาบแล้ว ควร

อยู่. ถ้าในฤดูร้อนตระไคร้น้ำแห้งติดอยู่. จะเอาไม่กวาดเป็นต้น ขูดตระไคร้น้ำ
นั้นออกเสีย ควรอยู่. ตระไคร้น้ำข้างนอกหม้อน้ำดื่มเป็นต้น เป็นวัตถุแห่ง
ทุกกฏ อยู่ภายในเป็นอัพโพหาริก. แม้เห็ดราที่ไม้ชำระฟันและขนมเป็นต้น
เป็นอัพโพหาริกเหมือนกัน. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าฝา
ที่เขากระทำบริกรรมด้วยยางไม้เกิดเป็นเห็ดรา ภิกษุพึงชุบผ้าให้เปียกบีบแล้ว
เช็ดเถิด1.
ปาสาณชาติ ปาสาณทัททุ เสวาละ เสเลยยกะ2 (ราหิน ตะไคร้หิน
สาหร่าย และเอื้องหินหรือเอื้องผา) เป็นต้น ยังไม่มีสีเขียวสด และไม่มีใบ
เป็นวัตถุแห่งทุกกฏ. เห็ด เป็นวัตถุแห่งทุกกฏตลอดเวลาที่ยังตูมอยู่. จำเดิม
แต่บานแล้ว เป็นอัพโพหาริก. ก็ภิกษุเก็บเห็ดจากต้นไม้สดแกะเอาเปลือก
ต้นไม้ออก เพราะเหตุนั้น จึงเป็นปาจิตตีย์ ในเพราะการแกะเปลือกไม้นั้น.
แม้ในสะเก็ดไม้ ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน. สะเก็ดแห่งต้นช้างน้าว และต้นกุ่ม
เป็นต้น หลุดจากต้นแล้ว ยังเกาะอยู่. เมื่อภิกษุถือเอาสะเก็ดนั้น ไม่เป็นอาบัติ.
แม้ยางไม้ไหลออกจากต้นไม้แล้ว ยิ่งติดอยู่ก็ดี ติดอยู่ที่ต้นไม้แห้งก็ดี จะถือเอา
ควรอยู่. จะถือเอาจากต้นที่ยังสด ไม่ควร แม้ในครั่ง ก็มีนัยอย่างนี้เหมือนกัน.
เมื่อภิกษุเขย่าต้นไม้ ให้ใบเหลืองหล่นก็ดี ทำให้ดอกมีดอกกรรณิการ์โรย
เป็นต้นหล่นก็ดี เป็นปาจิตตีย์ทั้งนั้น. แม้ภิกษุจาริกตัวอักษรลงบนต้นไม้ มีต้น
ช้างน้าว และต้นสลัดไดเป็นต้น ตรงที่ยังอ่อนก็ดี ที่ใบตาลซึ่งเกิดอยู่บนต้นตาล
เป็นต้น นั้นก็ดี ด้วยความคะนองมือ ก็นัยนี้นั่นแล.
1. วิ. จุลล. 7/249 2. วิมติ สาเลยฺยกํ นาม สิลาย สมภูต เอกา คนฺธชาติ. แปลว่า
ของหอมชนิดหนึ่งเกิดจากหิน ชื่อว่า สาเลยยกะ. เห็นจะได้แก่ ที่เรียกกันว่าเมื่อกผา หรือโมกผา
สารตฺถทีปนี 3/265 สาเลยฺยกํ นาน สิลาย สมฺภูต เอกา สคนฺธชาติ. -ผู้ชำระ.

เมื่อพวกสามเณรเลือกเก็บดอกไม้อยู่ ภิกษุจะเหนี่ยวกิ่งลงให้ ก็ควร.
แต่ภิกษุอย่าพึงอบน้ำดื่มด้วยดอกไม้เหล่านั้น. ภิกษุต้องการอบกลิ่นน้ำดื่ม พึง
อุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บดอกไม้ให้. แม้กิ่งไม้ที่มีผล ตนเองต้องการจะขบฉัน
อย่าพึงเหนี่ยวลงมา. พึงอุ้มสามเณรขึ้นแล้วให้เก็บผลไม้. จะจับฉุดมาร่วมกับ
สามเณรทั้งหลายผู้กำลังถอนไม้กอ หรือเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ควร.
แต่เพื่อให้เกิดความอุตสาหะแก่สามเณรเหล่านั้น จะจับที่ปลายแสดงท่าทีฉุด
ดุจกำลังลากมา ควรอยู่
ภิกษุกรีดกิ่งต้นไม้ที่มีกิ่งงอกขึ้น อันตนมิได้ให้อุปสัมบันทำให้เป็น
กัปปิยะถือเอา เพื่อประโยชน์แก่พัดไล่แมลงวันเป็นต้น ที่เปลือกหรือที่ใบ
โดยที่สุดแม้ด้วยเล็บมือ เป็นทุกกฏ. แม้ในขิงสดเป็นต้นก็นัยนี้แล. ก็ถ้าหากว่า
รากแห่งขิงสดที่ภิกษุให้กระทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว เก็บไว้ในพื้นที่เย็น งอกขึ้น
จะตัดที่ส่วนเบื้องบนควรอยู่. ถ้าเกิดหน่อจะตัดที่ส่วนข้างล่าง ก็ควร. เมื่อราก
กับหน่อเขียวเกิดแล้ว จะตัดไม่ควร.

[ว่าด้วยการตัดทำลายเผาเองและใช้ให้ทำเป็นต้น]


สองบทว่า ฉินฺทติ วา ฉินฺทาเปติ วา มีความว่า ภิกษุเมื่อจะ
กวาดพื้นดิน ด้วยคิดว่า เราจักตัดหญ้า ตัดเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ตัดก็ดี โดย
ที่สุดแม้ด้วยซี่ไม่กวาด.
สองบทว่า ภินฺทติ วา ภินฺทาเปติ วา มีความว่า โดยที่สุด
แม้เมื่อจะเดินจงกรมแกล้งเอาเท้าทั้งสองเหยียบไป ด้วยคิดว่า สิ่งที่จะขาด
จงขาดไป สิ่งที่จะแตก จงแตกไป เราจักแสดงที่ที่เราจงกรม ดังนี้ ย่อม
ทำลายเองก็ดี ใช้คนอื่นให้ทำลายก็ดี ซึ่งหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. ถ้าแม้นว่า
เมื่อภิกษุทำหญ้าและเถาวัลย์ให้เป็นขมวด หญ้าและเถาวัลย์จะขาด, แม้ทำให้
เป็นหมวด ก็ไม่ควร.